ชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติ

การแบ่งประเภทหัวใจเต้นผิดปกติ

  • หัวใจเต้นผิดปกติที่เกิดขึ้นในห้องบน
  • การเต้นของหัวใจห้องบนก่อนเวลาอันควร
  • หัวใจห้องบนเต้นพริ้ว
  • หัวใจที่เต้นผิดปกติซึ่งเกิดจากวงจรของคลื่นไฟฟ้าในหัวใจสองห้องบนปล่อยเร็วกว่าปกติ
  • หัวใจเต้นผิดปกติจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในหัวใจห้องบนหรือระหว่างห้องบนและล่าง
  • หัวใจมีการเต้นเร็วเนื่องมาจากมีทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าผ่านทางที่มีเพิ่มและทางเดิม
  • หัวใจมีการเต้นเร็วผิดปกติเกิดจากการที่มีทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าในหัวใจมากก่าหนึ่งที่วิ่งผ่าน AV node
  • หัวใจเต้นผิดปกติที่มีจุดกำเนิดในห้องบนที่ส่งคลื่นกระแสไฟฟ้าออกมาผิดปกติ
  • โรคที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจช้าลงเพราะมีความผิดปกติที่ปุ่มกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า  SA node
  • หัวใจเต้นผิดปกติที่เกิดขึ้นในห้องล่าง
  • การเต้นของหัวใจห้องล่างก่อนเวลาอันควร
  • หัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ
  • หัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว
  • หัวใจเต้นผิดปกติจากอัตราการเต้นที่ช้า
  • การนำไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนไปยังห้องล่างช้าลง หรือถูกขัดขวาง
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่เกิดจากโรคหัวใจบางชนิด เช่น Long QT syndrome, Brugada syndrome, Arrhythmogenic right ventricular dysplasia (ARVD)

การเต้นของหัวใจที่เกิดขึ้นก่อนเวลาอันควรเป็นผลมาจากคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนในส่วนที่นอกเหนือจาก SA node เป็นสภาวะที่ไม่มีอันตราย ไม่จำเป็นต้องรักษา
เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ หัวใจห้องบนจะเต้นพริ้ว ไม่บีบตัวผลักเลือดมาที่หัวใจห้องล่าง ทำให้หัวใจห้องบนและล่างทำงานไม่สอดคล้องกัน ส่วนใหญ่หัวใจห้องล่างจะเต้นผิดจังหวะและเร็วกว่าปกติตามไปด้วย การเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจสามารถทำได้ด้วยการให้ยาหรือช็อคไฟฟ้า การจี้รักษามีประสิทธิภาพมากกว่าการกินยาควยคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ

หัวใจที่เต้นผิดปกติซึ่งเกิดจากวงจรของคลื่นไฟฟ้าในหัวใจสองห้องบน

ส่วนใหญ่วงจรของคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติจะเกิดในหัวใจห้องขวาบน อัตราการเต้นของหัวใจมักจะเร็วและสม่ำเสมอ ภาวะนี้มีความสัมพันธ์กับภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว

หัวใจเต้นผิดปกติจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในหัวใจห้องบนหรือระหว่างห้องบนและล่าง

การเต้นของหัวใจที่มีอัตราการเต้นที่ถี่เร็ว และมักจะเป็นการเต้นที่สม่ำเสมอ ซึ่งมักจะเกิดและดับอย่างรวดเร็ว

  • หัวใจมีการเต้นเร็วเนื่องมาจากมีทางเดินของคลื่นกระแสไฟฟ้าผ่านทางที่มีเพิ่มและทางเดิม การจี้รักษาเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง
  • หัวใจมีการเต้นเร็วผิดปกติจากการที่มีวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติที่วิ่งผ่าน AV node ส่วนใหญ่หัวใจสามารถกลับมาเต้นปกติได้ด้วยการหายใจเข้าและกลั้นไว้สักครู่ หากไม่หายการให้ยาบางชนิดสามารถทำใหัห้วใจกลับมาเต้นปกติได้ การจี้รักษาเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง

การเต้นของหัวใจห้องล่างก่อนเวลาอันควร

เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบได้บ่อย เกิดได้ในทุกคน สามารถเกิดในคนที่มีหรือไม่มีปัญหาโครงสร้างของหัวใจ สภาวะบางอย่างที่อาจมีความเกี่ยวข้อง เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณมาก หรือการได้รับสารนิโคตินในปริมาณมาก สามารถเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจหรือระดับเกลือแร่ที่ผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้บ่อย จะมีหรือไม่มีอาการก็ตามควรพบแพทย์โรคหัวใจ โดยทั่วไปหากเป็นไม่บ่อยและไม่มีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจก็ไม่จำเป็นต้องรักษา

หัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ

หัวใจเต้นผิดปกติจากหัวใจห้องล่างที่มีอัตราการเต้นหัวใจที่เร็ว การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทำให้หัวใจห้องล่างไม่ได้รับเลือดจากห้องบนตามที่ควรจะเป็น ดังนั้นปริมาณเลือดที่หัวใจห้องล่างผลักดันออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆจึงน้อยกว่าปกติ อาจเกิดภาวะวิกฤตได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรมาพบ
แพทย์โดยเร็ว

หัวใจห้องล่างเต้นพริ้ว

เกิดจากคลื่นกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในหัวใจห้องล่าง เป็นภาวะวิภฤตเพราะหัวใจไม่สามารถผลักดันเลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ จะต้องได้รับการรักษาโดยด่วนที่สุดด้วยปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและช็อคด้วยไฟฟ้า

กลุ่มอาการจากการมีระยะ QT ยาวผิดปกติ

ระยะ QT สามารถตรวจวัดได้จากการตรวจคลื่นหัวใจ เป็นเวลาที่สัมพันธ์กับการคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง ถ้าผลบอกว่าระยะนี้ยาวผิดปกติ อาจก่อให้เกิดความผิดปกติของคลื่นกระแสไฟฟ้าหัวใจ และก่อให้เกิดหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจมีผลร้ายแรงต่อชีวิต เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างฉับพลันอย่างหนึ่งในคนหนุ่มสาว เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สามารถรักษาด้วยยาและ/หรือ การผ่าตัดฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยการช็อคไฟฟ้า

Brugada syndrome

เป็นโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอย่างฉับพลันในผู้ชายหนุ่มในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเรียกโรคนี้ว่าโรคไหลตาย สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่บุตร ตรวจพบความผิดปกติได้จากการตรวจคลื่นหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจที่ช้าผิดปกติ

อัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าของหัวใจ หรือ โรคของต่อมธัยรอยด์ สาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติที่ปุ่มกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า SA node, การนำไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนไปห้องล่างช้าลงหรือถูกขัดขวาง ผลข้างเคียงจากยา โรคต่อมธัยรอยด์

ความผิดปกติที่ปุ่มกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า SA node

อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงซึ่งเกิดจากความผิดปกติของปุ่มกำเนิดคลื่นกระแสไฟฟ้า ถ้าหากมีความผิดปกติมากผู้ป่วยก็จะมีอาการ รักษาด้วยการผ่าตัดฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ

การนำไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนไปยังห้องล่างช้าลง หรือถูกขัดขวาง

ความผิดปกติของระบบการนำไฟฟ้าในหัวใจจากปุ่มกำเนิดกระแสไฟฟ้า SA node ลงสู่ระบบเครื่อข่ายไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นหัวใจห้องล่างช้าลงหรือถูกขัดขวาง ความผิดปกติอาจจะอยูที่ AV node หรือระบบเครือข่ายนำไฟฟ้าสู่ห้องล่าง อัตราการเต้นของหัวใจจะช้ากว่าปกติ หากมีความผิดปกติที่ระบบเครือข่ายไฟฟ้าสู่ห้องล่าง ก็จะรักษาด้วยการผ่าตัดฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ

อาการของหัวใจเต้นผิดปกติ

ผู้ป่วยอาจจะมีหรือไม่มีอาการ แพทย์ผู้ตรวจสามารถตรวจพบหัวใจเต้นผิดปกติในขณะที่ตรวจร่างกายโดยการคลำชีพจร หรือ ในขณะฟังเสียงหัวใจ หรือ จากการตรวจคลื่นหัวใจ อาการที่พบได้คือ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ เวียนศรีษะ หน้ามืดเป็นลม หายใจลำบาก หรือ รู้สึกอ่อนเพลีย หรือ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
การตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดปกติ

สอบถามเพิ่มเติมที่

คลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ชั้น 2 อาคาร H โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ