การตรวจด้วยการออกกำลัง Exercise stress test (EST)

diagnosis
Noninvasive Diagnostic Service
การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังโดยวิธีการออกกำลังกายจะมีวิธีหลักอยู่ 2 วิธี คือ การเดินสายพาน (Treadmill) และ การปั่นจักรยาน (Cycling) แต่วิธีที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกรวมถึงโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ คือ การเดินสายพาน (Treadmill)
table of contents

การตรวจด้วยการออกกำลัง (Exercise stress test) คืออะไร?

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Exercise Stress Test คืออะไร?

การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนทำ Exercise Stress Test รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

ความเสี่ยงจากการทำ Exercise Stress Test มีอะไรบ้าง

การแปรผล Exercise Stress Test 

Exercise Stress Test at Bangkok Heart Hospital

การตรวจด้วยการออกกำลัง (Exercise stress test) คืออะไร?

การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังโดยวิธีการออกกำลังกายจะมีวิธีหลักอยู่ 2 วิธี คือ การเดินสายพาน (Treadmill) และการปั่นจักรยาน (Cycling) แต่วิธีที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกรวมถึงโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ คือ การเดินสายพาน (Treadmill) ขั้นตอนการตรวจจะเริ่มจากการติดอุปกรณ์แผ่น Electrode ที่บริเวณหน้าอก แขน และขา ทั้งหมด 10 จุด เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและอัตราการเต้นของชีพจรรวมถึงติดเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ที่ต้นแขน โดยจะมีเจ้าหน้าที่นักเทคโนโลยีหัวใจ (Cardiology Technician) เป็นผู้ดำเนินการตรวจ สังเกตอาการ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ อัตราการเต้นของชีพจรและความดันโลหิตในระหว่างที่ทำการตรวจโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของอายุรแพทย์โรคหัวใจอีกขั้นหนึ่ง ระหว่างทำการทดสอบเครื่องสายพานจะเพิ่มระดับความเร็วและความชันทุก ๆ  3 นาที (ตาม Bruce Protocol)
การเดินจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ตรวจพบข้อบ่งชี้ดังนี้ 

  • เดินได้ถึงอัตราชีพจรเป้าหมายที่แปลผลได้ (85% ของชีพจรสูงสุดที่เป็นไปได้ของแต่ละคน ซึ่งคำนวณได้จาก 220 – อายุ)
  • ผู้ป่วยขอหยุดเดินเองเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะเดินต่อไปได้
  • มีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอกหรือแน่นบริเวณกรามฟัน เวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม  หอบเหนื่อยมาก
  • พบลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
  • ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรงขณะที่เดินสายพาน 

การเดินสายพานจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 6 – 12 นาที และเข้าสู่ระยะพัก (Recovery Stage) อีกประมาณ 5 – 10 นาที โดยรวมจะใช้เวลาในการตรวจทั้งสิ้นเฉลี่ยประมาณ 20 – 30 นาทีต่อท่าน

การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบถึงสาเหตุเบื้องต้นของอาการเจ็บหน้าอก ช่วยประเมินความแข็งแรงของหัวใจและร่างกายขณะออกกำลัง รวมไปถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และความดันโลหิตตอบสนองต่อการออกกำลังกาย 

 ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Exercise Stress Test คืออะไร?

 Exercise Stress Test มีประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ใช้สำหรับการวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกว่ามีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
  • ใช้สำหรับประเมินความเสี่ยงว่าผู้ป่วยจะมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ แต่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคระดับปานกลางขึ้นไป
  • ใช้สำหรับประเมินผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่เดิมว่ามีความจำเป็นจะต้องรับการตรวจเพิ่มเติมหรือทำการรักษาด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพและผลในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่เดิม
  • ใช้ในการประเมินและวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพความสามารถสูงสุดของร่างกายและหัวใจในการออกกำลังกาย
  • ใช้ประเมินระดับความสามารถสูงสุดในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนทำ Exercise Stress Test รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

  • งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนเริ่มทำการทดสอบ
  • งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เนื่องจากคาเฟอีนอาจรบกวนการแปลผลการทดสอบ
  • ในผู้ป่วยที่มียาประจำรับประทานอยู่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้า เพื่อให้แพทย์ได้พิจารณาและให้คำแนะนำ หากมียาตัวใดที่มีผลรบกวนต่อการตรวจ (โดยเฉพาะยาโรคหัวใจและยาในกลุ่มลดความดันโลหิตสูง) 
  • สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดและอยู่ในระหว่างรักษาด้วยยาพ่นให้นำยามาด้วยในวันที่ทำการตรวจ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ทำการตรวจควรแจ้งแพทย์ที่ทำการดูแลรักษาเรื่องเบาหวานทราบ เพื่อเตรียมตัวเรื่องยาเบาหวานให้เหมาะสมในวันที่จะทำการตรวจ
  • ทางโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพได้อำนวยความสะดวกโดยเตรียมรองเท้าและถุงเท้าที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยทุกท่านไว้เรียบร้อย

ความเสี่ยงจากการทำ Exercise Stress Test มีอะไรบ้าง

  • สำหรับผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยอาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือหอบเหนื่อยง่าย
  • อาการเมื่อยล้าบริเวณต้นขาหรือบริเวณน่องซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยและแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าลักษณะอาการปวดที่ขานี้จะเกี่ยวเนื่องกับภาวะหลอดเลือดแดงที่ขาตีบหรือไม่
  • ความดันโลหิตต่ำลงระหว่าง Exercise ซึ่งอาจจะพบได้ประมาณ 1 – 5% ความดันโลหิตที่ลดต่ำลงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะได้ ซึ่งผู้รับการตรวจควรจะรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากมีอาการดังกล่าว โดยปกติระหว่างที่เราออกกำลังกาย ความดันโลหิตตัวบน (ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว) จะต้องเพิ่มขึ้นตามระดับการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกร่วมกับความดันโลหิตลดต่ำลงระหว่างออกกำลังกายและมีกราฟไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติระหว่างออกกำลังกายจะเป็นตัวพยากรณ์ที่ดีถึงการที่ผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่อันตรายอยู่
  • ความเสี่ยงอี่น ๆ ที่พบได้น้อยมาก (< 1%) ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โดยระหว่างที่ทำการทดสอบจะมีนักเทคโนโลยีหัวใจ (Cardiology Technician) และอายุรแพทย์โรคหัวใจ (Cardiologist) คอยสังเกตการณ์และเฝ้าระวังถึงอาการผิดปกติต่าง ๆ ลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจหรือความดันเลือดที่ผิดปกติไป  และจะมีการแจ้งให้อายุรแพทย์โรคหัวใจที่รับผิดชอบในการตรวจทราบทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าความเสี่ยงที่รุนแรงและอันตรายจากการตรวจจะพบได้น้อยมาก ทางโรงพยาบาลยังได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์และยาที่ได้ตามมาตรฐาน Standby ไว้ที่บริเวณห้องตรวจ หากกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นจริงก็สามารถที่จะให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

การแปลผล Exercise Stress Test 

อายุรแพทย์โรคหัวใจจะเป็นผู้แปลผลการตรวจ Exercise Stress Test โดยการแปลผลจะประเมินจากระยะเวลาในการเดินสายพาน อาการแน่นหน้าอก การเปลี่ยนแปลงของกราฟไฟฟ้าหัวใจ การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตขณะออกกำลังกายและขณะพัก ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้จะนำไปพิจารณาร่วมกับระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ผู้ป่วยมีอยู่เดิม เพื่อทำการวิเคราะห์ถึงโอกาสในการมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของผู้ป่วย ซึ่งผลสามารถแจ้งให้ผู้ป่วยทราบได้ภายในวันที่ทำการตรวจ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ทราบถึงแนวทางการรักษาต่อไป 

Exercise Stress Test at Bangkok Heart Hospital 

ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มีผู้เข้ารับการตรวจ Exercise Stress Test ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศปีละกว่า 20,000 ราย โดยเป็นผู้ป่วยทั้งที่มาด้วยอาการผิดปกติที่สงสัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและมาเพื่อตรวจสุขภาพ ซึ่งใน Check Up Program บางโปรแกรมจะรวมการตรวจ Exercise Stress Test เข้าไปด้วย

 
การตรวจด้วย Stress Test วิธีอื่นอื่น เช่น Exercise Stress Echocardiography, Dobutamine Stress Echocardiography

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Exercise Stress Test คืออะไร?

Exercise Stress Test มีประโยชน์ในแง่ต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ใช้สำหรับการวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกว่ามีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
  • ใช้สำหรับประเมินความเสี่ยงว่าผู้ป่วยจะมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ แต่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคระดับปานกลางขึ้นไป
  • ใช้สำหรับประเมินผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่เดิมว่ามีความจำเป็นจะต้องรับการตรวจเพิ่มเติมหรือทำการรักษาด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพและผลในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่เดิม
  • ใช้ในการประเมินและวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด
  • ใช้ประเมินประสิทธิภาพความสามารถสูงสุดของร่างกายและหัวใจในการออกกำลังกาย
  • ใช้ประเมินระดับความสามารถสูงสุดในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนทำ Exercise Stress Test รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

  • งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนเริ่มทำการทดสอบ
  • งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เนื่องจากคาเฟอีนอาจรบกวนการแปรผลการทดสอบ
  • ในผู้ป่วยที่มียาประจำรับประทานอยู่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้า เพื่อให้แพทย์ได้พิจารณาและให้คำแนะนำ หากมียาตัวใดที่มีผลรบกวนต่อการตรวจ (โดยเฉพาะยาโรคหัวใจและยาในกลุ่มลดความดันโลหิตสูง) 
  • สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดและอยู่ในระหว่างรักษาด้วยยาพ่นให้นำยามาด้วยในวันที่ทำการตรวจ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ทำการตรวจควรแจ้งแพทย์ที่ทำการดูแลรักษาเรื่องเบาหวานทราบ เพื่อเตรียมตัวเรื่องยาเบาหวานให้เหมาะสมในวันที่จะทำการตรวจ
  • ทางโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพได้อำนวยความสะดวกโดยเตรียมรองเท้าและถุงเท้าที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยทุกท่านไว้เรียบร้อย

ความเสี่ยงจากการทำ Exercise Stress Test มีอะไรบ้าง

  • สำหรับผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยอาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือหอบเหนื่อยง่าย
  • อาการเมื่อยล้าบริเวณต้นขาหรือบริเวณน่องซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยและแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าลักษณะอาการปวดที่ขานี้จะเกี่ยวเนื่องกับภาวะหลอดเลือดแดงที่ขาตีบหรือไม่
  • ความดันโลหิตต่ำลงระหว่าง Exercise ซึ่งอาจจะพบได้ประมาณ 1 – 5% ความดันโลหิตที่ลดต่ำลงอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะได้ ซึ่งผู้รับการตรวจควรจะรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากมีอาการดังกล่าว โดยปกติระหว่างที่เราออกกำลังกาย ความดันโลหิตตัวบน (ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว) จะต้องเพิ่มขึ้นตามระดับการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกร่วมกับความดันโลหิตลดต่ำลงระหว่างออกกำลังกายและมีกราฟไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติระหว่างออกกำลังกายจะเป็นตัวพยากรณ์ที่ดีถึงการที่ผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่อันตรายอยู่
  • ความเสี่ยงอี่น ๆ ที่พบได้น้อยมาก (< 1%) ได้แก่ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โดยระหว่างที่ทำการทดสอบจะมีนักเทคโนโลยีหัวใจ (Cardiology Technician) และอายุรแพทย์โรคหัวใจ (Cardiologist) คอยสังเกตการณ์และเฝ้าระวังถึงอาการผิดปกติต่าง ๆ ลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจหรือความดันเลือดที่ผิดปกติไป และจะมีการแจ้งให้อายุรแพทย์โรคหัวใจที่รับผิดชอบในการตรวจทราบทันที เพื่อป้องกันความเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าความเสี่ยงที่รุนแรงและอันตรายจากการตรวจจะพบได้น้อยมาก ทางโรงพยาบาลยังได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์และยาที่ได้ตามมาตรฐาน Standby ไว้ที่บริเวณห้องตรวจ หากกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นจริงก็สามารถที่จะให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

การแปรผล Exercise Stress Test 

อายุรแพทย์โรคหัวใจจะเป็นผู้แปรผลการตรวจ Exercise Stress Test โดยการแปรผลจะประเมินจากระยะเวลาในการเดินสายพาน อาการแน่นหน้าอก การเปลี่ยนแปลงของกราฟไฟฟ้าหัวใจ การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตขณะออกกำลังกายและขณะพัก ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้จะนำไปพิจารณาร่วมกับระดับความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ผู้ป่วยมีอยู่เดิม เพื่อทำการวิเคราะห์ถึงโอกาสในการมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของผู้ป่วย ซึ่งผลสามารถแจ้งให้ผู้ป่วยทราบได้ภายในวันที่ทำการตรวจ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ทราบถึงแนวทางการรักษาต่อไป

Exercise Stress Test at Bangkok Heart Hospital

ที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มีผู้เข้ารับการตรวจ Exercise Stress Test ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศปีละกว่า 20,000 ราย โดยเป็นผู้ป่วยทั้งที่มาด้วยอาการผิดปกติที่สงสัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและมาเพื่อตรวจสุขภาพ ซึ่งใน Check Up Program บางโปรแกรมจะรวมการตรวจ Exercise Stress Test เข้าไปด้วย

 
การตรวจด้วย  Stress Test วิธีอื่นอื่น เช่น Exercise Stress Echocardiography, Dobutamine Stress Echocardiography

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com

ดูบริการอื่น ๆ