การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI)

diagnosis
Technology
เอ็มอาร์ไอ หรือ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใดๆเข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment)
table of contents

เอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร

เปรียบเทียบ เอ็มอาร์ไอ (MRI) กับ เครื่องเอ็กซ์เรย์  คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT scan)

เอ็มอาร์ไอ ทำงานอย่างไร

ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ

ชนิดของการตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

ขั้นตอนการตรวจเอ็มอาร์ไอ สำหรับผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

การตรวจใช้เวลานานแค่ไหน

อะไรเกิดขึ้นบ้างในระหว่างการตรวจ

ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจเอ็มอาร์ไอ

ข้อจำกัดของเอ็มอาร์ไอ

ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ มีเครื่องเอ็มอาร์ไอให้บริการดังนี้ 

เอ็มอาร์ไอ (MRI) คืออะไร

เอ็มอาร์ไอ หรือ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง หรือ เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรวจดูอวัยวะภายในโดยไม่มีการใส่ส่วนของอุปกรณ์ใดๆเข้าไปในร่างกาย (noninvasive equipment) หลักการทำงานของเอ็มอาร์ไอจะอาศัยการทำปฏิกิริยา ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ คลื่นความถี่วิทยุ กับ อนุภาคโปรตอนที่อยู่ในส่วนประกอบของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ได้สัญญาณภาพ (image signal) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพของอวัยวะภายในโดยระบบคอมพิวเตอร์ แมกเนติกเรโซแนนซ์ อิมเมจิ้ง (MRI) เป็นเครื่องมือปลอดรังสีเอ็กซ์เพราะไม่ใช้รังสีเอ็กซ์ในการสร้างสัญญาณภาพ ของอวัยวะภายใน

เปรียบเทียบ เอ็มอาร์ไอ (MRI) กับ เครื่องเอ็กซ์เรย์  คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT scan)

เมื่อดูภายนอกทางด้านหน้า เครื่องมือทั้งสองชนิดจะมีลักษณะคล้ายโดนัทขนาดยัก อุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ (ซ้าย) มักจะลึกกว่าของเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (ขวา) ขณะที่ทำการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงตรวจที่สามารถเลื่อนตัวคนไข้เข้าและออกจากอุโมงค์ อุโมงค์ของ เอ็มอาร์ไอมีหลายแบบ เช่น อุโมงค์ที่มีขนาดรวมทั้งอุโมงค์แบบเปิดสำหรับคนไข้ที่กลัวที่แคบ ซึ่งที่ร.พ กรุงเทพก็มีเครื่องมือชนิดนี้สำหรับให้บริการ
ผนังของอุโมงค์ของเอ็มอาร์ไอ จะบรรจุแม่เหล็กกำลังสูง (powerful magnet) และ เครื่องส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (radiofrequency pulse) 
ส่วนผนังของอุโมงค์ของ เครื่องเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง256 สไลด์ (256 Slice Multi Detector CT scanner)  จะบรรจุหลอดเอ็กซ์เรย์ (X-Rays Tube) เครื่องรับสัญญาณเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (MDCT scan)

เอ็มอาร์ไอ ทำงานอย่างไร

เอ็มอาร์ไอ ทำงานได้โดย อาศัยปฎิกิริยาระหว่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นความถี่วิทยุ และ อนุภาคโปรตอน ในเนื้อเยื่อของรางกาย โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางเคมีที่เป็นอันตราย เมื่ออานุภาคโปรตอนได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุ อนุภาคโปรตอนในเนื้อเยื่อแต่ละชนิดก็จะมีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมไปอยู่ในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวแกนของสนามแม่เหล็กกำลังสูง เมื่อการถ่ายเทพลังงานจากแหล่งกำเนิดคลื่นความถี่วิทยุหยุดลง อานุภาคโปรตอนที่ม่พลังงานสูงและกำลังเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งสมดุลเดิมก็จะมีการคายพลังงานออกมาเพื่อกลับสู่สมดุลเดิม พลังงานที่คายออกมาจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญานภาพด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสร้างเป็นภาพของอวัยวะภายในในที่สุด

ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ

  • ตรวจหาความปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ เยื่อหุ้มหัวใจ
  • ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดโคโรนารี่ อาร์เทอรี่
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจเพื่อเพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด
  • ตรวจวินิจหาความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดทั้งก่อนและหลังการรักษา ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

ชนิดของการตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ

  1. การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี ( Gadolinium contrast)
    • Cardiac perfusion study เป็นการตรวจเพื่อประเมินว่ากล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงเพียงพอกับความต้องการหรือไม่
    • Viability study เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจว่าเกิดจากการขาดเลือดหรือจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะการอักเสบ และ ตรวจหาปริมาณ และ การแผ่ขยาย (expansion) ของกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และของ กล้ามเนื้อหัวใจที่มีพยาธิสภาพจากโรคอื่น
    • การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งของหัวใจ
    • MR angiography คือการตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) และ แขนง และหลอดเลือดดำใหญ่ (pulmonary artery , superior vena cava , inferior vena cava)
  2. การตรวจเอ็มอาร์ไอ หัวใจ โดยไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
    • การตรวจหาความผิดปกติ และ การอุดตันของหลอดเลือด โคโรนารี
    • การตรวจสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac function, left ventricular/right ventricular ejection fraction)
    • การตรวจหาความผิดปกติ ของลิ้นหัวใจและความรุนแรงของโรค
    • การการตรวจหาความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  3. การตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจ โดยร่วมกับการฉีดยาและ การฉีดสารทึบรังสี
    • การตรวจชนิดนี้ได้แก่ MRI stress test การตรวจสมรรถภาพของหลอดเลือดหัวใจในการส่งเลือด ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจขณะหัวใจเกิดความเครียด(stress) โดยการกระตุ้นให้หัวใจเกิดความเครียดโดยการฉีดยา โดบูทามีน (dobutamine) หรือ อดีโนซีน (adenosine) เข้าทางหลอดเลือดดำ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

  • งดน้ำและอาหาร 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ ซึ่งขี้นอยู่กับชนิดของการตรวจ
  • ปลี่ยนเสื้อผ้ามาใส่เสื้อที่แผนกที่ตรวจเตรียมไว้ให้
  • ถอดฟันปลอม เครื่องช่วยฟัง เครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะออกให้หมด และเก็บไว้ในที่เก็บของที่แผนกเตรียมไว้ให้
  • นำเหรียญสตางค์ บัตรเครดิต บัตรเอที่เอ็ม โทรศัพท์ ออกจากตัวให้หมด 
    กรณีต้องห้ามสำหรับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ หัวใจ คือ สตรีมีครรภ์ คนไข้ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ทำด้วยโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่นเครื่องกระตุ้น และเครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องปั๊มอินซูลิน และคนไข้ที่มีอาการกลัวที่แคบ ส่วนที่ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป เช่น คนไข้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียมบางชนิด เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท คนไข้ที่ใส่ขดลวดดามหลอดเลือด (stent) 

ขั้นตอนการตรวจเอ็มอาร์ไอ สำหรับผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

  • ผู้ป่วยจะได้รับการอธิบายขั้นตอนการตรวจก่อนการตรวจ
  • เมื่อผู้ป่วยตกลงใจที่จะทำการตรวจก็ให้ผู้ป่วยลงชื่อในใบเซ็นยินยอมเพื่อรับการตรวจ
  • ให้คนไข้นอนหงายบนเตียงตรวจ จัดท่าคนไข้ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการตรวจ ติดแถบมัดตัวคนไข้เพื่อไม่ให้คนไข้เคลื่อนไหวออกจากตำแหน่ง
    • ติดสายตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หน้าอกด้านซ้ายของคนไข้ ติดสายวัดการหายใจที่หน้าท้องของ คนไข้ และเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
    • แจ้งให้คนไข้ทราบว่าระหว่างการตรวจ อาจขอให้ คนไข้กลั้นหายใจหลายครั้งประมาณครั้งละ 15-20 วินาที คนไข้จะได้รับการฝีกการกลั้นหายใจก่อนการตรวจ
    • ผู้ป่วยที่ทำการตรวจเอ็มอาร์ไอ ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี และ ฉีดยาจะได้รับการเปิดเส้นเลือดดำสำหรับฉีดสารทึบรังสีและ/หรือยา
    • ผู้ป่วยที่ทำการตรวจเอ็มอาร์ไอ ชนิดที่ต้องฉีดสารทึบรังสี จะได้รับการแจ้งให้เจาะเลือดตรวจหน้าที่ของไตก่อนพิจารณาฉีดสารทีบรังสี

 

การตรวจใช้เวลานานแค่ไหน

โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที

อะไรเกิดขึ้นบ้างในระหว่างการตรวจ

  • โดยส่วนมากการตรวจเอ็มอาร์ไอ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
  • คนไข้บางคนอาจรู้สึกไม่สุขสบายขณะรับการตรวจ เนื่องจากต้องนอนอยู่ในอุโมงค์ที่แคบ และมีเสียงดังจากการปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ แต่สามารถลดความดังได้ด้วยการให้คนไข้ใส่โฟมอุดหู
  • คนไข้บางคนอาจขมคอเมื่อได้รับการฉีดสารเปรียบต่าง (gadolinium contrast)
  • หลังจากตรวจเสร็จผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่ได้รับยานอนหลับ หรือ ยาสลบ ต้องให้ผู้ป่วยพักฟื้นจนกว่าจะรู้สติสัมปชัญญะ

ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจเอ็มอาร์ไอ

ความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจเอ็มอาร์ไอโดยปกติไม่มีความเสี่ยงสำหรับการตรวจทั่วไป ยกเว้นการตรวจ เอ็มอาร์ไอ stress test ที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตรวจ เช่น อาจมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอาการแสดงที่บอกว่ามีหลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน

  • ความเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดของเนื้อเยื่อไตจากการใช้ gadolinium contrast โดยเฉพาะในคนที่มีความเสื่อมของไต

ข้อจำกัดของเอ็มอาร์ไอ

  • คนไข้ไม่สามารถจะนอนไม่เคลื่อนไหวตลอดการตรวจได้
  • คนไข้ไม่สามารถจะกลั้นใจนิ่งหลายครั้งได้
  • คนไข้ตัวใหญ่ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ได้
  • จังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอมีผลต่อคุณภาพของภาพ
  • การตรวจวินิจฉัยโรคโดยใช้เอ็มอาร์ไอใช้เวลานานกว่า และ ราคาแพงกว่า การตรวจโดยเครื่องมืออื่น

ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ มีเครื่องเอ็มอาร์ไอให้บริการดังนี้ 

  • เทสลา (Tesla) เอ็มอาร์ไอ (MRI) ตั้งอยู่ ที่ อาคารกิติพันธ์ ชั้นใต้ดิน และ อาคาร D ชั้นใต้ดิ
  • 1.5 เทสลา (Tesla) เอ็มอาร์ไอ (MRI) ตั้งอยู่ ที่ อาคาร R ชั้น G
  • 1.0 เทสลา (Tesla) เอ็มอาร์ไอ ชนิดอุโมงค์แบบเปิด (Open MRI) ตั้งอยู่ ที่ อาคาร D ชั้นใต้ดิน

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
info@bangkokhospital.com

ดูบริการอื่น ๆ