ผู้หญิงอย่ามองข้ามโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้หญิงอย่ามองข้ามโรคหลอดเลือดหัวใจ
แชร์

ปัจจุบันพบว่าภัยร้ายด้านสุขภาพของผู้หญิงไม่ใช่แค่มะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านมเท่านั้น แต่ ‘โรคหลอดเลือดหัวใจ’ ก็กำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ
 
จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 4  คน สูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง และมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ‘ผู้หญิง’
 
ผู้หญิง 63% ที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน เสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าผู้ชาย และผู้หญิงวัยทำงานอายุ 35 ปีขึ้นไปกับผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่วัยทองมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจมากกว่าผู้หญิงวัยอื่น 
 

เข้าใจภัยเงียบโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอาการตีบตัน เนื่องจากมีไขมันและหินปูนสะสมอยู่ในผนังหลอดเลือด ทำให้เยื่อผนังหลอดเลือดชั้นในเกิดหนาตัวขึ้น ตีบ และแคบลง จากที่เลือดเคยเดินทางไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ทีละมาก ๆ ก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เมื่อต้องทำกิจกรรมออกแรงต่าง ๆ เพราะมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากเกิดการอุดตันของหลอดเลือดแบบเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจอาจตายเฉียบพลัน และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรืออาจทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้

โรคหลอดเลือดหัวใจ ภัยเงียบของผู้หญิงเก่ง

ผู้หญิงลักษณะใดที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ   

  • ผู้หญิงวัยทำงาน 35 ปีขึ้นไป สาวมั่น ทำงานเก่ง เอาจริงเอาจังในการทำงาน    
  • ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบสูง เช่น ผู้บริหาร นักจัดอีเวนท์ นักข่าว นักผลิตรายการทีวี ฯลฯ   
  • อ้วนลงพุง หรือผอมแต่มีพุง
  • ทำงานนั่งโต๊ะ วันละ 7 – 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น 
  • ทำงานภายใต้แรงกดดัน เช่น งานที่ต้องทำยอดหรือปิดการขาย งานที่แข่งกับเวลา ฯลฯ  
  • ไม่สนใจตรวจสุขภาพประจำปี เพราะคิดว่าอายุน้อย ยังเเข็งแรงดี 


ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงเก่งตกเป็นกลุ่มเสี่ยง 

  • ใช้ชีวิตอยู่กับความเร่งรีบ ตื่นเช้า นอนดึก เวลานอนน้อยไม่ถึง 8 ชั่วโมง   
  • ต้องการประสบความสำเร็จ สวนทางกับการดูแลตัวเองที่น้อยลง ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • สวย เก่ง ฉลาด ต้องการการยอมรับ จากลูกน้อง จากสังคมรอบข้าง สะสมความเครียด   
  • ทำหลายหน้าที่พร้อมกัน เช่น ดูแลลูกและทำงานหลายธุรกิจไปพร้อมกัน ฯลฯ
  • กดดันและเครียดจัด หาทางออกด้วยการสูบบุหรี่ ปาร์ตี้ ดื่มแอลกอฮอล์ 
  • ไม่มีกิจกรรมทางกาย ไม่เดินแม้ระยะทางใกล้แค่ไหนก็ตาม 
  • บริโภคไม่ดี บริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไม่กินผัก ผลไม้ ชอบทานฟาสต์ฟู้ดส์
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ จะทำให้เสี่ยงมากขึ้น



สัญญาณเตือน
โรคหลอดเลือดหัวใจถามหา 

  • เจ็บหน้าอกเหมือนมีหินกดทับ นานครั้งละ 2 – 3 นาที ปวดร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้างโดยเฉพาะข้างซ้าย เมื่อต้องออกแรงหรือเครียด ตกใจ หรือตื่นเต้น
  • เหนื่อยง่าย ขณะออกแรงหรือออกกำลังกายที่เกิดขึ้นเฉียบพลันภายใน 1 – 2 สัปดาห์
  • เจ็บหน้าอกแบบแปล๊บ ๆ เวลาหายใจเข้าลึก ๆ ไอ หรือจาม เวลาก้มหรือเอี้ยวตัว
  • นอนราบไม่ได้ เนื่องจากเจ็บหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ มาเป็นเวลานานขณะนอนราบ
  • หายใจเข้าไม่เต็มปอด อาจเจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้า – ออกร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงเพียงพอ
  • หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
  • ระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง โดยระดับคอเลสเตอรอลรวมมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ห่างไกลโรคหลอดเลือดหัวใจไม่ใช่แค่ออกกำลังกาย 

  • หมั่นตรวจสุขภาพ ควรตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด น้ำตาล และไขมันในเลือดเป็นประจำ  
  • เช็กสุขภาพหัวใจแบบพิเศษ ที่เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ
  • ผ่อนคลายความเครียด เช่น ฝึกโยคะ รำมวยจีน ทำสมาธิ ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อนฝูง ฯลฯ
  • เลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด เพราะการหยุดสูบบุหรี่เพียง 20 นาที ความดันโลหิตจะลดลงสู่ระดับปกติ
  • กินอาหารที่มีกากใยสูง ทานผัก ผลไม้ และธัญพืชให้มาก ๆ

เช็กสุขภาพหัวใจกับโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพดำเนินการบริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจระดับมาตรฐานทัดเทียมกับต่างประเทศ ด้วยทีมแพทย์หัวใจฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงทุกวัน มีบริการโปรแกรมตรวจเช็กสุขภาพหัวใจแบบพิเศษที่ให้ผลการตรวจละเอียดกว่าการตรวจสุขภาพทั่วไป ได้แก่ 

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
  • การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (Chest X-Ray)
  • การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (Cardiac Enzyme Test)
  • ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
  • การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Computed Tomographic Angiography)
  • การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization or Coronary Angiogram)

 
รวมถึงมีความชำนาญด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูโรคหัวใจในผู้ใหญ่และเด็ก พร้อมเทคโนโลยีการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่ทันสมัยด้วย ‘การผ่าตัดแบบไม่ต้องหยุดหัวใจ’ หมดกังวลเรื่องอาการแทรกซ้อนจากเครื่องปอดหัวใจเทียม ทำการผ่าตัดโดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดบายพาสโรคหัวใจประสบการณ์สูง พร้อมทีมพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยผ่าตัดอย่างราบรื่น กลับมาแข็งแรงหลังการพักฟื้น ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและฟื้นตัวได้ในเร็ววัน รวมถึงการบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติทุกกรณี ที่ไม่เคยสามารถเคลื่อนย้ายด้วย ECMO TRANSPORTATION TEAM

 


ที่มา:
แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com