ตรวจยีนค้นความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจยีนค้นความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
แชร์

คงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่เกิดจากพันธุกรรมได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจยีนหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ (Polygenic Risk Score) จึงเป็นอีกทางเลือกการตรวจค้นหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ดูแลสุขภาพได้ถูกต้อง วางแผนการรักษาได้เหมาะสม และป้องกันโรคได้ในระยะยาว 


รู้จักการตรวจยีน

การตรวจยีน (Polygenic Risk Score) เป็นการตรวจหาความเสี่ยงการเกิดโรคทางพันธุกรรมจากยีน ซึ่ง
แต่ละคนมียีนเฉพาะตัวแตกต่างกัน การตรวจยีนจึงช่วยในการวิเคราะห์สุขภาพเพื่อนำไปสู่การวางแผนดูแลและป้องกันโรคที่ถูกต้อง รวมถึงการรักษาโรคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่มีความสัมพันธ์กับยีน  ดังนั้นการตรวจยีนจึงช่วยวิเคราะห์สุขภาพหัวใจเชิงลึกได้


รูปแบบการตรวจยีน

การตรวจยีนในปัจจุบันมี 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่

  1. การตรวจยีนแบบเฉพาะเจาะจงกับโรค สามารถวิเคราะห์เชิงลึก ลดความเสี่ยงในการรักษาโรค 
  2. การตรวจยีนเพื่อหาความเสี่ยงของโรค (Polygenic Risk Score) สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีโอกาสเป็นโรคนั้นหรือไม่ ควรรับมืออย่างไร

วิธีตรวจยีน

  1. การตรวจจากเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้ม โดยขูดกระพุ้งแก้มเพื่อนำเซลล์ไปตรวจ 
  2. การตรวจจากการเจาะเลือด

หลังจากตรวจแล้วรอผลตรวจประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ 


โรคหัวใจกับการตรวจยีน

ปัจจุบันการตรวจยีนสามารถตรวจพบความเสี่ยงใน 5 โรคหลัก ได้แก่

  1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) 
  2. ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก (Atrial Fibrillation)
  3. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus)
  4. ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)
  5. ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ตรวจยีนค้นความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
แปลผลสำคัญที่สุด

สิ่งสำคัญในการตรวจยีน คือ เมื่อผลการตรวจยีนออกมาแล้ว การแปรผลอย่างรอบด้านมีความสำคัญมาก ซึ่งต้องอาศัยความรู้จากแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญและแพทย์ที่มีความเกี่ยวข้องในทุกสาขา เพื่อการแปรผลที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ชัดเจน ดังนั้นการตรวจยีนกับโรงพยาบาลที่มีทีมแพทย์และทีมสหสาขาที่ครอบคลุมจึงมีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้ประเมินโรคได้ใกล้เคียงมากที่สุด


ข้อดีของการตรวจยีน

  • ประเมินความเสี่ยงเชิงลึกที่สุดในระดับยีนจึงคาดการณ์ความเสี่ยงสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม แพทย์ระบุได้ว่าผู้ป่วยเหมาะกับการรักษาหรือไม่อย่างไร ควรรักษาด้วยวิธีการใด จ่ายยาแบบใด เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ในขณะที่ผลข้างเคียงน้อยที่สุด
  • หากตรวจพบความเสี่ยงตั้งแต่อายุยังน้อย ย่อมทำให้เกิดความตระหนักรู้ ดูแลป้องกันตัวเองได้ถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคในอนาคต 
  • ในคนทั่วไป การตรวจยีนมีประโยชน์อย่างมาก ช่วยให้รู้รายละเอียดสุขภาพที่ชัดเจน วางแผนดูแลได้ถูกวิธี ส่วนคนที่มีกรรมพันธุ์มาตั้งแต่กำเนิด การตรวจยีนจะช่วยให้รู้รายละเอียดสุขภาพแบบเชิงลึก เฝ้าระวังสุขภาพได้

การตรวจยีนสามารถตรวจได้ทุกคนทุกเพศทุกวัยโดยจะต้องพบแพทย์เพื่อทำความเข้าใจอย่างละเอียดก่อนเข้ารับการตรวจแนะนำให้ตรวจยีนกับโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานเพราะมีแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญและครอบคลุมทุกสาขาแปรผลอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจไม่เสียโอกาสทางสุขภาพโดยเฉพาะโรคในกลุ่มหัวใจและหลอดเลือดที่มีความซับซ้อนและยากต่อการรักษา

แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com