ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความเชื่อ: โรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วหรือหัวใจห้องบนเต้นระริกเกิดเฉพาะในผู้สูงอายุ
ความจริง: โรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วหรือหัวใจห้องบนเต้นระริกพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ปี แต่โรคนี้สามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ ในผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 55 ปี คนที่เป็นโรคนี้พบน้อยกว่า 1 ต่อ 1000 คน อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ตลอดชีวิตมีประมาณ 18 – 25% สาเหตุการเกิดโรคนี้มีได้หลายสาเหตุ เช่น หลังเกิดอุบัติเหตุ ยาบางชนิด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ความเชื่อ: ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจห้องบนเต้นระริกหรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว คือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ความจริง: ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นระริกหรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วมักมาด้วยอาการใจสั่น จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหัวใจเต้นระริกหรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วคือ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดจากหัวใจเข้าไปในกระแสเลือด และไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยแต่ละรายจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีปัจจัยเสี่ยงมากหรือน้อย ซึ่งควรจะได้รับการประเมินจากแพทย์อายุรกรรมด้านหัวใจ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจห้องบนเต้นระริกหรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ความเชื่อ: การช็อกไฟฟ้าหรือการปรับจังหวะการเต้นหัวใจด้วยการช็อกไฟฟ้าสามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นระริก
ความจริง: ถึงแม้ว่าการปรับจังหวะการเต้นหัวใจด้วยการช็อกไฟฟ้าสามารถปรับจังหวะหัวใจเต้นระริกให้กลับมาปกติได้ แต่นี่ไม่ใช่การรักษาที่หายขาด ส่วนใหญ่หลังจากช็อกไฟฟ้า หัวใจจะกลับมาเต้นปกติ แต่ภาวะหัวใจเต้นระริกอาจกลับมาเกิดขึ้นได้อีกเมื่อไรก็ได้ สาเหตุการเกิดโรคนี้มีได้หลายสาเหตุ เช่น หลังเกิดอุบัติเหตุ ยาบางชนิด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ความเชื่อ: โรคหัวใจเต้นระริกหรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วสามารถรักษาให้หายขาดได้
ความจริง: การรักษาให้หายขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเป็นโรคหัวใจเต้นระริก หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว ยกตัวอย่างเช่น โรคต่อมไทรอยด์หรือการดื่มสุราในปริมาณมาก อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจเต้นระริก หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วได้ ถ้าหากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยทั่วไปโรคหัวใจเต้นระริกหรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วสามารถหายได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นระริก หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วจากสาเหตุอื่น เช่น โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ถ้าหากรักษาภาวะเหล่านี้ร่วมด้วยแล้ว โรคหัวใจเต้นระริก หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้วอาจจะไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมรักษาได้ ถ้าหากท่านมีคำถามเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นระริกหรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์อายุรกรรมหัวใจ