แพทย์รพ.หัวใจกรุงเทพแนะแนวทางการรักษาโรคซับซ้อนทางด้านหัวใจ

แพทย์รพ.หัวใจกรุงเทพแนะแนวทางการรักษาโรคซับซ้อนทางด้านหัวใจ
แชร์

ปัจจุบันโรคหัวใจในไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีจากกลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมัน ทำให้เป็นโรคไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจอีกมากมายและซับซ้อนจากเดิม ซึ่งเป็นปัญหาใหม่ระดับโลกและระดับประเทศ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพจึงแนะแนวทางการรักษาโรคซับซ้อนทางด้านหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่เข้าข่ายเสี่ยง รวมไปถึงวิธีการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด เพื่อเตรียมรับมือกับโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
 
นพ.ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการอาวุโส โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เปิดเผยว่า “พบสถิติผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจมากที่สุดถึง 40% และมีแนวโน้มว่าตัวเลขนี้จะสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ จากพฤติกรรมการใช้ที่ชีวิตที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังมีแนวโน้มเกิดโรคซับซ้อนทางด้านหัวใจมากขึ้นเช่นกัน ทำให้การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบันต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่อช่วยในการวินิจฉัยอย่างแม่นยำและการผ่าตัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการผ่าตัดแบบแผลเล็กทางเลือกใหม่ที่สะดวก ปลอดภัย ฟื้นตัวได้ไว สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติในเวลาอันใกล้ เพื่อช่วยผู้ป่วยให้มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคหัวใจยอดฮิตอย่างโรคเส้นเลือดแดงโป่งพอง และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ ซึ่งทั้ง 2 อาการนี้สามารถรักษาได้ หากได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที”
 
  
นพ.วิฑูรย์ ปิติเกื้อกูล รองผู้อำนวยการศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า “โรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อย คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ออกมาจากขั้วหัวใจทอดยาวจากช่องอกสู่ช่องท้องและให้แขนงเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายหลายแห่ง โรคหรือภาวะบางอย่างอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตามีความอ่อนแอ เกิดการโป่งพองขยายขนาดจนใหญ่กว่าปกติขึ้น (Aneurysm) ซึ่งเมื่อมีการโป่งขยายจนถึงระดับหนึ่งก็จะแตก ทำให้เสียเลือดจำนวนมากกระทันหันจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ปัจจุบันการวินิจฉัยจนไปถึงการผ่าตัดทำได้รวดเร็ว ด้วยทีมแพทย์ผ่าตัดที่ที่มีความชำนาญช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาที่ต้องผ่าตัดในระยะเวลานาน”
 
 
 
นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า “เทคโนโลยีการผ่าตัดในปัจจุบันทำได้ดีขึ้น นอกจากการผ่าตัดเปิดเพื่อเย็บซ่อมหลอดเลือดแล้ว ในบางรายแพทย์จะใช้การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง (Endovascular Aortic Aneurysm Repair หรือ EVAR)  และการใส่ท่อหลอดเลือดเทียม (Vascular Stent Graft) ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะข้อดีของการทำ EVAR คือเหมาะสมกับผู้ป่วยกลุ่มที่อายุมาก มีปัจจัยเสี่ยงสูง โดยวิธีการนี้ภาวะแทรกซ้อนจะน้อยกว่าการผ่าตัดใหญ่เพื่อซ่อมหลอดเลือดโป่งพอง ซึ่งการผ่าตัดแผลเล็กนั้น จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลต่ำ อย่างไรก็ตามการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ”
 
 พญ.ปราณิศา เหลืองรัศมีรุ่ง แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ รพ. หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า “การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจจะส่งผลดีต่อสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัวในการนำออกซิเจนไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพร่างกายที่ดีช่วยลดอาการต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงช่วยป้องกันและควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด เพิ่มความสามารถการละลายลิ่มเลือด และปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด ทำให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น มีสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วยปัจจุบันการบริหารร่างกายป้องกันโรคหัวใจ (Primary Prevention) ถูกนำมาใช้มากขึ้น ในช่วงทำกายภาพหลังผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็ว และป้องกันการกลับมาของโรคหัวใจได้อีกครั้ง การทำกายภาพจะแต่งต่างกันไปตามลักษณะของผู้ป่วย และประเภทของโรคหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เป็นหลัก”
 


โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพมุ่งเน้นการผ่าตัด รักษา และดูแลด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ พร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด และพร้อมให้ทุกคำปรึกษาหรือทำการผ่าตัดให้ได้อย่างทันท่วงที ตอบโจทย์บริการด้านโรคหัวใจในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com