ตรวจ ABI ดูสภาพเส้นเลือดที่ขา

ตรวจ ABI ดูสภาพเส้นเลือดที่ขา
แชร์

ภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

ภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบเป็นอาการแสดงที่สำคัญของภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรือพบมีไขมันเกาะแทรกในหลอดเลือด ทั้งระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกาย ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีโอกาสพบได้ประมาณ 12% ของแต่ละช่วงอายุ ในผู้ที่มีภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบนั้น ไม่ว่าจะมีประวัติอาการสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบจะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเท่า ๆ กัน



ตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั่วร่างกาย

การตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั่วร่างกาย (Total Body Vascular) เป็นการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นสำหรับโรค Peripheral Vascular Disease (PVD) ที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ขา ทำได้โดยการวัดดัชนีความดันที่ข้อเท้า เปรียบเทียบกับค่าความดันของแขนในแต่ละข้าง (Ankle Brachial Pressure Index, ABI) เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบตันของหลอดเลือดข้างนั้น ๆ หรือไม่

ค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงควรมากกว่าหรือเท่ากับ 1.0 ค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่น้อยกว่า 0.9 แสดงว่าน่าจะมีปัญหาการอุดตัน และถ้าตรวจเพิ่มเติมโดยการถ่ายภาพรังสีหลังการฉีดสีในเส้นเลือดแดงแล้วผลที่ได้พบว่า 95% มีภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ

การตรวจวัดค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของโรคได้ โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังหรือแขนขาอ่อนแรงและมีอาการปวดมากเมื่อออกกำลังกายจะมีค่าการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงอยู่ระหว่าง 0.5 – 0.8 ในกรณีนี้ควรปรึกษาแพทย์ระบบหลอดเลือดเพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติม และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนแสดงอาการเนื้อเยื่อส่วนปลายของขาขาดเลือดไปเลี้ยงจนเกิดอาการเนื้อเยื่อเน่าตายนั้น มักมีค่าการแข็งตัวของหลอดแดงต่ำกว่า 0.5 ซึ่งกรณีนี้จะถือว่าเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบทำการรักษาทันที



การปฏิบัติตัวก่อนและหลังการรักษา

  1. เมื่อทำการวัดผู้ป่วยต้องนอนราบ โดยระดับของแขนและขาอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ
  2. ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบายที่สุดและไม่ควรพูดคุย สัมผัส Cuff หรือขยับแขนขาขณะที่ทำการตรวจวัดเพราะจะทำให้ค่าที่วัดได้ไม่เที่ยงตรง และยังทำให้ใช้เวลาในการวัดจนกว่าจะได้ค่านานขึ้นกว่าที่ควร เนื่องจากต้องทำการวัดซ้ำ
  3. หากเจ็บหรือผิดปกติใด ๆ ระหว่างทำการวัด เจ้าหน้าที่จะทำการหยุดเครื่องทันที
  4. สำหรับผู้ป่วยที่มีการใส่เหล็กดามกระดูกที่แขนหรือขาไม่สามารถทำการตรวจวัดค่าได้
แชร์

สอบถามเพิ่มเติมที่

ชั้น 1 โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 16.00 น.
info@bangkokhospital.com